Image
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับคณะฯ
    • ประวัติความเป็นมา และสัญลักษณ์
    • ปรัชญา พันธกิจ วิสัยทัศน์
    • โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหาร
    • คณะผู้บริหาร
    • คณะกรรมการประจำคณะ
    • บุคลากร สายวิชาการ
    • บุคลากร สายสนับสนุน
    • แผน/แผนยุทธศาสตร์
    • อำนาจหน้าที่
    • ปฏิทินภารกิจผู้บริหาร
    • การให้บริการ
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
    • หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น
    • TCAS
    • งานรับเข้าศึกษา/สมัครเรียน
  • วิจัย/บริการวิชาการ
    • หน่วยงาน
      • ศูนย์วิจัย/หน่วยวจัย
      • หน่วยบริการวิชาการ
    • ผลงานวิจัย
      • ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
      • โครงการวิจัย
      • สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
      • ทุนวิจัย
    • ผลงานด้านบริการวิชาการ
      • การบริการวิชาการแก่ชุมชน
      • 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ
  • บริการ
    • บริการนิสิต
      • ระบบบริการการศึกษา
      • เตรียมพร้อมฝึกสหกิจ
      • สโมสรนิสิต
      • ระบบการให้คำปรึกษาสำหรับนิสิต
    • คู่มือนิสิต
      • คู่มือนิสิต
      • คู่มือรับบริการงานทะเบียนนิสิตและประเมินผล
      • คู่มือการเรียนออนไลน์
      • คู่มือการใช้ระบบเทียบรายวิชา(UP7)
      • คู่มือยื่นคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    • การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม
    • DynEd
      • DynEd (การทดสอบภาษาอังกฤษ)
      • อบรม DynEd แบบออฟไลน์
      • คู่มือติดตั้งDynEd Pro
      • การทดสอบและยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
    • บริการบุคลากร
      • การจองใช้ห้อง
      • การจองรถตู้
      • ยืมครุภัณฑ์

    • เอกสาร/แบบฟอร์ม
    • วาระ/รายงานการประชุม
  • การบริหารองค์กร
  • ติดต่อเรา
    • สายตรงคณบดี
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียนทั่วไป
    • ร้องเรียนเรื่องการเรียนการสอน
    • ประเมินความพึงพอใจ
    • ที่ตั้ง/แผนที่

วิชาชีพเชี่ยวชาญ วิชาการโดดเด่น เน้นคุณธรรม มุ่งพัฒนาชุมชน. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

054-466666 ต่อ 3188
E-mail up_pharmacy@up.ac.th

© 2021 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
LOGIN
"วิชาชีพเชี่ยวชาญ วิชาการโดดเด่น เน้นคุณธรรม มุ่งพัฒนาชุมชน" คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
Image TH 054-466-666 ต่อ 3188
Image
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับคณะฯ
    • ประวัติความเป็นมา และสัญลักษณ์
    • ปรัชญา พันธกิจ วิสัยทัศน์
    • โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหาร
    • คณะผู้บริหาร
    • คณะกรรมการประจำคณะ
    • บุคลากร สายวิชาการ
    • บุคลากร สายสนับสนุน
    • แผน/แผนยุทธศาสตร์
    • อำนาจหน้าที่
    • ปฏิทินภารกิจผู้บริหาร
    • การให้บริการ
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
    • หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น
    • TCAS
    • งานรับเข้าศึกษา/สมัครเรียน
  • วิจัย/บริการวิชาการ
    • หน่วยงาน
      • ศูนย์วิจัย/หน่วยวจัย
      • หน่วยบริการวิชาการ
    • ผลงานวิจัย
      • ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
      • โครงการวิจัย
      • สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
      • ทุนวิจัย
    • ผลงานด้านบริการวิชาการ
      • การบริการวิชาการแก่ชุมชน
      • 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ
  • บริการ
    • บริการนิสิต
      • ระบบบริการการศึกษา
      • เตรียมพร้อมฝึกสหกิจ
      • สโมสรนิสิต
      • ระบบการให้คำปรึกษาสำหรับนิสิต
    • คู่มือนิสิต
      • คู่มือนิสิต
      • คู่มือรับบริการงานทะเบียนนิสิตและประเมินผล
      • คู่มือการเรียนออนไลน์
      • คู่มือการใช้ระบบเทียบรายวิชา(UP7)
      • คู่มือยื่นคำร้องขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    • การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม
    • DynEd
      • DynEd (การทดสอบภาษาอังกฤษ)
      • อบรม DynEd แบบออฟไลน์
      • คู่มือติดตั้งDynEd Pro
      • การทดสอบและยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ
    • บริการบุคลากร
      • การจองใช้ห้อง
      • การจองรถตู้
      • ยืมครุภัณฑ์

    • เอกสาร/แบบฟอร์ม
    • วาระ/รายงานการประชุม
  • การบริหารองค์กร
  • ติดต่อเรา
    • สายตรงคณบดี
    • คำถามที่พบบ่อย
    • ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียนทั่วไป
    • ร้องเรียนเรื่องการเรียนการสอน
    • ประเมินความพึงพอใจ
    • ที่ตั้ง/แผนที่
  • TH
  • EN

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา ❖ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

1. ประวัติความเป็นมาของคณะเภสัชศาสตร์


               มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University ) ด้วยปรัชญา “ดำรงชีวิตด้วยปัญญาประเสริฐที่สุด (A life of wisdom is the mostwondrous of all)” และปณิธานมุ่งมั่น “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน (Wisdom for CommunityEmpowerment)” มหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการพัฒนาด้านกายภาพ และพัฒนาบุคลากรเรื่อยมา มีการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อพัฒนาการศึกษาของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะในระยะแรกและตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม ใน 15 คณะ 3 วิทยาลัย (วิทยาลัยการจัดการตั้งอยู่ณ อาคารเวฟเพลส เพลินจิต กรุงเทพมหานคร) และ 1 วิทยาเขต (เชียงราย) และมีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาซึ่งจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตอนต้น จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ วมว.) จำนวน 2 ห้องเรียน มหาวิทยาลัยพะเยาได้มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัยเพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษาและผลิตงานวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม               

              คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเภสัชกรให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ มุ่งเน้นการกระจายเภสัชกรสู่ภาคเหนือตอนบน อันเป็นการเพิ่มบุคลากรให้แก่ภูมิภาค ทำการเปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในรูปแบบสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยใช้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (บริบาลเภสัชกรรม) ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 จึงได้มีการแยกการจัดการเรียนการสอนเป็นสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ และเป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ รวมถึงมีบทบาทในการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโต โดยรัฐบาลและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้การสนับสนุน เร่งผลักดันให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางก้าวทันสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังนั้นคณะเภสัชศาสตร์จึงสนองตอบความต้องการของตลาดโดยการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง เพื่อมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางที่มีความเชี่ยวชาญ มีคุณธรรม  จริยธรรม และมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง รวมถึงการสร้างความตระหนักของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างมาตรฐานและยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศ



2. หลักสูตรและบริการ    

           

           ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดให้มีการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตร ได้แก่               

           1. หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม มุ่งเป้าที่จะผลิตเภสัชกรเพื่อเสริมสร้างสุขภาพชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม ประกอบด้วยหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2551 ของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม พ.ศ. 2555 และหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรมฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562               

           2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มุ่งเน้นการสร้างฐานความรู้ให้บัณฑิต ผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง เพิ่มศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ดี และมีศักยภาพสามารถทำงานได้ทุกแห่งทั่วโลก และพัฒนาบัณฑิตให้ก้าวทันออกสู่ตลาดแรงงานและสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเริ่มรับนิสิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา



ทำเนียบคณบดี


  • รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร สุรศักดิ์ เสาแก้ว พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน


  • รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร นุวัตร วิศวรุ่งโรจน์ พ.ศ. 2553 – 2562



นอกจากนี้คณะมีงานบริการวิชาการ และงานบริการด้านวิจัย


             โดยการให้บริการวิชาการเพื่อเพิ่มองค์ความรู้และทักษะในด้านที่เกี่ยวกับเภสัชกรรมและวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางให้แก่เภสัชกร บุคลากรทางสุขภาพ ชุมชน และผู้ประกอบการผ่านหน่วยบริการ ได้แก่


1) สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (ร้านยา) ให้บริการด้านยา เวชภัณฑ์ และคำแนะนำทางด้านสุขภาพ และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานให้แก่นิสิตเภสัชศาสตร์ 

2) ศูนย์การเรียนรู้ด้านการสกัดน้ำมันสมุนไพร เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนด้านการสกัดน้ำมันสมุนไพรและการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากสมุนไพร

3) หน่วยบริการวิชาการ ที่จัดกิจกรรมประชุมวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผ่านโครงการ 1 คณะ 1 ผลิตภัณฑ์ และจัดการบริการวิชาการที่บูรณาการองค์ความรู้กับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน


             ในส่วนการบริการวิจัยมีหน่วยงานด้านการวิจัยและให้บริการด้านวิจัย ได้แก่


1) ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

2) หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านยาสมุนไพร

3) หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ด้านการวิจัยด้านเภสัชวิทยาและการพัฒนาวัคซีนโดยใช้แบบจำลองสัตว์ทดลอง

4) หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้าน เภสัชพันธุศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์ และเภสัชบำบัด

5) หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้าน ผลลัพท์ทางสุขภาพและความปลอดภัยทางยาในผู้สูงอายุ




Image

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

  • E-SERVICE
  • iClassroom
  • จองห้องภายในคณะ
  • การจองรถตู้
  • แจ้งเรื่อง/ร้องเรียน
  • สภาเภสัชกรรม
  • ต่ออายุใบอนุญาตวิชาชีพ
  • (ศ.ศ.ภ.ท.) .
ติดต่อเรา

โทร 054-466666 ต่อ 3188

โทรสาร 054-466690

E-mail up_pharmacy@up.ac.th

© 2021 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา